วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสาธารณรัฐจีน



  "เสื้อผ้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้น เสื้อผ้ายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา กระบวนการต่างๆ และถูกหลอมรวมจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศ
        ประวัติความเป็นมาของจีนนั้น มีการปกครอง และการเปลี่ยนแปลงหลายราชวงค์ตั้งแต่ 
ราชวงค์ซ้ง (Shang) ราชวงค์โจ (Chou) ราชวงค์ฉิน (Chin) ราชวงค์ฮั่น ราชวงค์ซ้อง หรือ ซุ่ง (Sung) ราชวงค์เหม็ง จนกระทั่งชาวแมนจูได้เข้ามาปกครองจีน และมีอำนาจจนเปลี่ยนการปกครอง เป็นสาธารณรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2455

             เนื่องจากภูมิประเทศของจีนเป็นประเทศที่อยู่ในเขตอากาศหนาวจัด จึงมีความจำเป็นต้อง ปกปิดร่างกายด้วยเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และมิดชิด แขนเสื้อกว้างใหญ่และยาวเพื่อเก็บมือไว้ได้ สมัยก่อนยังไม่รู้จักใช้ถุงมือ ตัวเสื้อจะยาวคร่อมเท้า แบบเสื้อจะเป็นเสื้อป้ายซ้อนกันที่หน้าอก เพื่อให้เกิดความอบอุ่น และสวมกางเกงขายาวไว้ข้างใน

            สาธารณรัฐประชาชนจีน ชายจะสวมเสื้อคอปิด แขนยาว สีน้ำเงินหรือดำเรียกว่าจงหาน หรือชุดเหมา หญิงสวมชุดติดกันเข้ารูป เสื้อคอปิดหรือป้ายอก เรียกว่า ฉ่งชำ
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_18.html

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศภูฎาน

ชุดประจำชาติภูฏาน   ชุดประจำชาติภูฏาน

                 สำหรับประเทศภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี โดยรัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวันคะ
                 ซึ่งพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ดังเช่นภาพที่คนไทยทั้งประเทศได้เห็นและประทับใจในองค์มกุฎราชกุมารของภูฏาน เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก ที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดประจำชาติเกือบตลอดเวลาระหว่างที่เสด็จมาร่วมงานในพิธีฉลองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 60เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2006 
             ชุดประจำชาติภูฏานของฝ่ายชายเรียกว่า โก (Kho หรือ Go) ส่วนชุดของฝ่ายหญิงเรียกว่า คีร่า (Kira) นอกจากนี้ชุดประจำชาติของชาวภูฏาน (ผู้ชาย) ที่สวมใส่ไปในงานพระราชพิธีหรือในงานพิธีที่เป็นทางการยังประกอบด้วย ผ้าพาดไหล่ (Scarf) ที่ภาษาภูฏานเรียกว่า แกบเน (Kabney) ซึ่งมีอยู่หลายสี แต่ละสีบอกชั้นยศและฐานันดรศักดิ์ของผู้ใช้ผ้าพาดไหล่นั้น ด้วย เช่น สีเหลืองอมส้ม (Saffron) เป็นสีที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์กับสมาชิกในพระราชวงศ์และพระสังฆราช(เจเคนโป) สีส้มสำหรับรัฐมนตรี สีน้ำเงินสำหรับองคมนตรี สีแดงสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ที่พระราชาธิบดีทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สีขาวลายเส้นสีน้ำเงิน สำหรับสมาชิกรัฐสภา สีขาวลายเส้นสีแดงสำหรับหัวหน้าหมู่บ้านและข้าราชการทั่วไป ทหารนั้นใช้ผ้าผืนเล็กสีขาวขลิบริมสีแดง และสีขาวสำหรับประชาชนธรรมดา
ที่มา:  http://www.tripdeedee.com/traveldata/bhutan/bhutan09.php

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศบาห์เรน


1 เอาเราะฮฺ หรือขอบเขตของร่างกายที่ต้องปกปิด

เกณฑ์แรกคือขอบเขตของร่างกายที่ต้องปกปิด (เอาเราะฮฺ) ซึ่งต่างกันระหว่างชายกับ หญิง เอาเราะฮฺของผู้ชายอย่างน้อยต้องอยู่ระหว่างสะดือกับเข่า สำหรับผู้หญิงเอาเราะฮฺคือทุกส่วนของร่างกายยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ หรือหากเป็นความประสงค์ของพวกเธอก็สามารถปกปิดส่วนของร่างกายส่วนนี้ (ใบหน้าและมือ) ด้วยก็ได้ นักวิชาการอิสลามบางท่านยืนยันหนักแน่นว่าใบหน้าและมือก็เป็นส่วนของร่างกายที่ต้องปกปิดด้วยเช่นกัน 


อีก 5 เกณฑ์ที่เหลือนั้นเหมือนกันทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง


2 ชุดที่สวมใส่ต้องหลวมและต้องไม่เปิดเผยให้เห็นรูปร่าง
3 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่บางจนมองทะลุผ่านได้
4 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่งามหรือมีเสน่ห์จนเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม
5 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่คล้ายคลึงกับของเพศตรงข้าม
6 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่คล้ายคลึงกับของบรรดาผู้ปฏิเสธ พวกเขาจะต้องไม่สวมใส่ชุดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหรือสัญลักษณ์ในศาสนาของบรรดาผู้ปฏิเสธ
โดยหลักธรรมชาติ ทันทีที่บทบัญญัติของอิสลามถูกนำมาปฏิบัติผลลัพธ์ในทางที่ดีย่อมบังเกิดอย่างแน่นอน หากบทบัญญัติของอิสลามได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติในทุกส่วนของโลกไม่ว่าในอเมริกาหรือยุโรป สังคมก็จะหายใจอย่างโล่งอก ฮิญาบไม่ได้ลดฐานะของผู้หญิงหรือทำให้ผู้หญิงอยู่ในสภาพที่น่าอับอายแต่ฮิญาบช่วยเชิดชูผู้หญิงช่วยปกป้องความสงบเสงี่ยมสง่างามและพรหมจรรย์ของเธอ




ที่มา:  https://baabin.com/215047/


วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายอัฟกานิสถาน

  การแต่งกายของแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกันคะ จะแตกต่างกันออกไปเพราะว่าบางประเทศก็ถือสรีระเป็นสำคัญเพื่อป้องกันการเกิดอาชญากรรมได้คะ   ดังเช่นประเทศอัฟกานิสถานคะ
          บุรกาชุดผ้าคลุมทั้งตัวที่เป็นมรดกจากกลุ่มตอลีบันผู้เคยบังคับให้ผู้หญิงใส่ถูกหลายคนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ผู้หญิงที่ตกค้างมาจากยุคเผด็จการ ชายชาวอัฟกานิสถานพากันเดินขบวนสวมชุดบุรกาเพื่อต้องการเข้าใจความรู้สึกของผู้หญิงที่ถูกบังคับให้สวมประเทศมุสลิมหลายประเทศไม่มีกฎข้อบังคับให้สวมใส่บุรกาและในบางประเทศก็สั่งห้ามเครื่องสวมใส่ชนิดนี้ ขณะที่บางประเทศส่งเสริมเครื่องแต่งกายอีกชนิดหนึ่งคือฮิญาบ ในปี 2552 โมฮัมหมัด ทันทาวี นักวิชาการอิสลามจากมหาวิทยาลัยอัลอัสชาร์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอิสลามที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ในอียิปต์ประกาศว่าไม่จำเป็นที่สตรีต้องมีการปกคลุมใบหน้าภายใต้ข้อบังคับของอิสลามและเครื่องแต่งกายต่างๆ เป็นเรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีของอัฟกานิสถานมีการบังคับให้สวมบุรกาขณะอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มติดอาวุธตอลีบัน แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีการสั่งห้ามดังกล่าวแล้วแต่ก็ยังคงมีผู้คนสวมใส่อยู่เนื่องจากแรงกดดันทางสังคม มีคนส่วนหนึ่งเชื่อว่าการสวมชุดที่คลุมหน้ามิดชิดจะช่วยลดอาชญากรรมทางเพศและไม่ส่งเสริมการค้าประเวณี อย่างไรก็ตามจากการสำรวจของสหประชาชาติเมื่อปี 2556 ระบุว่าความรุนแรงต่อสตรีส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับการรายงานโดยเฉพาะในเขตชนบท
ที่มา https://prachatai.com/journal/2015/03/58260

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทไต้หวัน



  สำหรับ"เสื้อผ้า”นะคะ  ก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้นคะ แต่เสื้อผ้ายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา กระบวนการต่างๆ และถูกหลอมรวมจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศคะ อย่างเช่นประเทศไต้หวันคะ
      ไต้หวันเป็นภาษาจีน เดิมชื่อ ฟอร์โมซา เป็นภาษาโปตุเกส แต่ก่อนไต้หวันอยู่ในความ ปกครองของจีน เริ่มมีชาวจีนจากกวางตุ้ง และฟูเรียน อพยพเข้ามาอยู่ตามบริเวณฝั่ง ต่อมาก็มี ชาวตะวันตกเข้ามา เช่น ชาวโปตุเกส ดัทช์ สเปน ต่อมาชาวดัทช์กับชาวสเปนเกิดสงครามแย่งชิง ดินแดนกัน ชาวสเปนแพ้จึงยกทัพหนีไป ชาวดัทช์ หรือฮอลันดาก็ยึดครองเกาะไต้หวัน ประมาณ 38 ปี ต่อมาประเทศจีนเกิดสู้รบกันระหว่างราชวงค์หมิงและราชวงค์แมนจู กษัตริย์ราชวงค์หมิง กลัวราชวงค์แมนจูจะยึดแผ่นดินจีน จึงนึกถึงเกาะไต้หวัน จึงส่งกองทัพไปยึดเกาะไต้หวันคืนจาก ชาวดัทช์ได้ ต่อมาญี่ปุ่นได้ยึดเกาะไต้หวันได้อีก เนื่องจากประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเกาะ ไต้หวันมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ชาวไต้หวันจึงรับเอาวัฒนธรรมจากชาวจีนและญี่ปุ่นบ้าง และเจ้า ของเดิมซึ่งมีทั้งชาวเล และชนเผ่าเกาซาน ซึ่งมีเชื้อสายพวกฮั่นเก่า มีการสักบนใบหน้าบางเผ่าก็ แต่งกายประดับประดางดงาม นิยมแบบอย่างชาวจีน ส่วนใหญ่สตรี สวมชุดกี่เพ้า คือ สวมเสื้อป้า ยอก คอตั้งและกระโปรงจะผ่ามาเหนือเข่าทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันจะแต่งกายตามชุดสากลนิยมแล้วเพื่อ ความสะดวก

ที่มา: https://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_19.html

วัฒนธรรมการแต่งกายปากีสถาน

   "เสื้อผ้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้น เสื้อผ้ายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา กระบวนการต่างๆ และถูกหลอมรวมจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศ

      ปากีสถาน มีชื่อเต็มคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ปากีสถานมีความเจริญมาแต่ยุค โบราณ ทางด้านการค้า ศิลปวัฒนธรรม เมืองหลวงเก่าคือ การาจี แล้วเปลี่ยนมาสร้างเมืองหลวง ใหม่ในภาคเหนือคือ อิสลามาบัด ได้ชื่อว่าเป็นประเทศมุสลิม มีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลาม หนาแน่นที่สุดเหมือนอินเดีย มีสินค้าที่มีชื่อ คือ ผ้ามัสลิน

สิ่งทอปากีสถาน 
สิ่งทอของปากีสถาน จะมีความหลากหลายในแต่ละท้องที่ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
  • การผสมผสานของรูปแบบสิ่งทอเฉพาะของจังหวัดและแพร่ออกไปสู่ตามบริเวณชายแดน
  • การย้ายถิ่นฐาน
  • การย้ายของผู้คนจากประเทศต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของชาวกรีก พวกมุสลิมในตุรกี
  • การมีความสัมพันธ์กับต่างชาติ เช่น จีน และเอเซียกลาง
การแต่งกาย 
การแต่งกายจะประดับด้วยดอกไม้ แก้วแหวนเงินทอง นุ่งกระโปรงจีบสีดำ ห่มผ้าสีดำ ปักลวดลายด้วยไหมสีต่าง ๆ ใส่ตุ้มหู กำไล สร้อยคอ ชายจะแต่งกายคล้ายชาวอินเดีย ใช้ผ้า มัสลินตัดเสื้อตัวหลวม โพกศีรษะ
การแต่งกายของชาวปากีสถาน 

ที่มา: https://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_10.html

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศตุรกี

สำหรับการแต่งกายชาวตุรกี ผู้หญิงจะเป็นชุดกระโปรงบานยาว และเสื้อแขนยาวแต่งกายมิดชิด แต่ไม่ถึงกับปิดหน้าปิดตาคล้ายชนชาติ อิสลาม      การแต่งกายของชายประกอบไปด้วยเสื้อ เชิ้ต ตัว ใส่ Tunic หรือไม่ก็ใส่เสื้อ รัดรูป (Doublet) กับกางเกงรัดรูป (Hose) มีเสื้อคลุมทับ Doublet เรียกว่า Pourpoint เสื้อเชิ้ต นั้น จะตัด จากผ้าลินินที่ทำให้มีความพองมาก ๆ และรวบไว้ที่รอบคอและรอบข้อมือ คอเสื้อจะมีทั้งคอกลม และคอวี และคอสี่เหลี่ยม ซึ่งมีมาก่อน ค.ศ. 1500-1525 เป็นลักษณะที่มีระบายเล็ก ๆ โดยรอบ ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นแบบ Ruff (เป็นรอยพับ) ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 และเสื้อรัดรูป เปลี่ยนเป็นใช้ Tunic ชนิดสั้น แล้วสวมเสื้อนอกมีแขน ปลายแขนแคบ โคนแขนพองรัดเป็นปล้อง ๆ ทำตอนบนของแขนให้พอง 
          เสื้อคลุมค่อนข้างสั้น คลุมชุด Tunic ที่มีลักษณะหลวมและมีเข็มขัดรัดไว้มีจีบรูด คอเสื้อ กลมหรือเหลี่ยม มีแขนยาว แขนเสื้อสามารถถอดออกจากตัวเสื้อได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกายประเทศตุรกี

ที่มา: http://thenational2836.blogspot.com/p/1.html
 



วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสาธารณรัฐจีน

  " เสื้อผ้า ” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือ...