วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศกัมพูชา


การแต่งกายของชาวกัมพูชาต่างกันไปตามชนชั้นของสังคม ชาวกัมพูชาพื้นเมืองนิยมใช้ผ้าขาวม้าหรือกร็อมาซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ชาวเขมรต่างไปจากเพื่อนบ้านคือลาว ไทย และเวียดนาม กร็อมานี้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายค่ะ เช่น กันแดด ช่วยในการปีนป่ายใช้ห่อทารก ใช้เป็นผ้าขนหนูหรือใช้นุ่งเป็นโสร่ง หรืออาจทำเป็นตุ๊กตาผ้าสำหรับเด็ก ในสมัยเขมรแดง กร็อมาถือเป็นเครื่องแต่งกายมาตรฐานค่ะ
ชุดประจำชาติที่มีความนิยมอย่างยาวนานคือสัมพต เป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน อย่างไรก็ตาม เครื่องแต่งกายของชาวเขมรได้เปลี่ยนไปตามช่วงเวลาและศาสนา ในช่วงระยะเวลาระหว่างสมัยอาณาจักรฟูนันจนถึงจักรวรรดิเขมรเป็นช่วงที่ศาสนาฮินดูมีอิทธิพลมากต่อการแต่งกาย มีการสวมสัมพตและเครื่องประดับต่างๆ เมื่อชาวเขมรหันมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ชาวเขมรเริ่มสวมเสื้อและกางเกง ความนิยมต่อเครื่องแต่งกายในแบบสมัยฮินดูลดลง มีเครื่องแต่งกายที่เรียกสไบ
สัมพตยังมีการสวมใส่ในกลุ่มเชื้อพระวงศ์ในสมัยอุดงนิยมสวมสไบปิดบ่าซ้ายและเปิดบ่าขวา นักแสดงแต่งกายด้วยสัมพตสระภาพและเครื่องประดับที่เรียกสเรงกอร์ และยังมีมงกุฏสำหรับเชื้อพระวงศ์เพื่อการตกแต่งตามฐานะ
 ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวม
              และแบบพอดี
คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
                            ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่ง
ของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบ
              จะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวัน
จะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมา
              จากประเทศญี่ปุ่นนิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง


วัฒนธรรการแต่งกายประเทศอินโดนีเซีย

        ชุดประจำชาตินะคะ ก็เป็นสื่อหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้แสดงถึงอัตลักษณ์ของประเทศ การแต่งกายชุดประจำชาติ นั้นถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ประจำชาติ ศิลปะ วิถีชีวิต ความเชื่อของแต่ละประเทศ ซึ่งมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน และบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อม สภาพของสังคมของแต่ละประเทศ
การทอผ้าแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเส้นทางการค้าขายติดต่อกับอินเดีย จีน และยุโรป มานาน กว่าร้อยปี ซึ่งความสัมพันธ์นีมี้อิทธิพลต่อวัฒนธรรม ทักษะพื้น บ้านและวัตถุดิบในการผลิต ผ้า ทอของอินโดนีเซียซึ่งผลิตทั้งผ้าฝ้ายพื้น ๆ ผ้าฝ้ายที่วิจิตร ผ้าทอผสมเส้นใยไหม เส้นทองและเส้น เงิน มีชุดแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำถิ่น

ผ้าทอโบราณของอินโดนีเซียมีหลายชนิด ได้แก่ ผ้ายก (Songket) ผ้ามัดหมี่ มัดหมี่เส้นยืน มัดหมี่เส้นพุ่ง และมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน

Songket หมายถึง ยกดิ้น เงินดิ้น ทองซึ่งผลิตในพาเลมบังมินังคาบัว และสมารินดา
ชาวอินโดนีเซียใช้ผ้าทอกันมากในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าโสร่ง (ผ้านุ่งผู้หญิง) ผ้าคลุมไหล่ ผ้าสำหรับหุ้มห่อและผูกเด็กเข้ากับตัว ผ้าคลุมผม ผ้ารัดเอว ถุงย่าม
  • ผ้าเพเลไพ (Pelepai) หรือผ้าลวดลายเรือจากกลัมปุง ใช้แขวน ประดับ หรือวางตกแต่ง ในงานแต่งงาน และพิธีขลิบปลายองคชาติ
  • ผ้าบัว (Pua) จากกาลิมันตัน ใช้แทนผนังในกระท่อมไม้ในงานและพิธีกรรม ซิโดมัคติ (Sidomukti) เป็นผ้ามัดหมี่ ใช้ในงานพิธีแต่งงานเท่านั้น
  • ผ้ากริงซิง (Gringsing) ในบาหลี เป็นผ้ามัดหมี่ทั้งเส้นด้ายยืนและเส้นพุ่งใช้ในพิธีแสดง การย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และหนุ่มสาว
  • ผ้าเคนทัมพัน (Kain tampan) เป็นผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นผ้าที่ใช้แลกเปลี่ยนกันระหว่าง ญาติที่เกี่ยวข้องกันเพราะการแต่งงาน
ชาวอินโดนีเซีย แต่งกายโดยการนุ่งโสร่งปาเต๊ะ มาจากมาเลเซีย มีการทำโสร่งปาเต๊ะ หรือบาติก และเครื่องหนังที่ขึ้น ชื่อมาก

ผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวพอดี คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปเล็กน้อย ยาวปิดสะโพก เข้ากับ โสร่งที่เป็นลวดลาย ใช้สีสันกันเป็นทางบ้างดอกบ้าง ใช้ผ้ายาว ๆ คล้องคอเช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อ ชาวมาเลเซียจะเป็นคอยู และเสื้อยาว

ผู้ชาย แต่งชุดสากล ผูกไทด์ลายผ้าปาเต๊ะ สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศอินโดนีเซีย

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศพม่า

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศพม่า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัฒนธรรมการแต่งกายพม่า


                 สำหรับการแต่งกายของชาวพม่าถือว่าวัฒนธรรมเป็นดั่งรากแก้วของต้นไม้ที่ต้องปกปักรักษา วัฒนธรรมที่บ่งบอกความเป็นพม่า อย่างเช่น ภาษาพม่า พุทธศาสนา การบริโภคน้ำชา และที่เห็นได้ชัดอีกสิ่งหนึ่งก็คือการแต่งกาย ในอดีตแม้พม่าจะเคยเป็นอาณานิคมของตะวันตกมากว่าศตวรรษก็ตาม แต่ชาวพม่าก็ยังคงวิถีชีวิตเดิมไว้ได้มากคะ
                 ผู้ชายยังนิยมนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ทั้งยังชอบสวมรองเท้าแตะ และทาแป้งตะนาคา ในบทนี้จะขอกล่าวถึงการแต่งกายของพม่า จำแนกเป็นหญิงและชาย ดังนี้

การแต่งกายสำหรับผู้หญิงพม่า
ตามตำราโลกนิตของพม่ากล่าวไว้ว่า หญิงที่จัดว่างามนั้นต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ ประการ ได้แก่  ๑.มีผิวพรรณดี ๒.มีดวงตาสดใสดั่งตากวาง  ๓.มีเอวคอด  ๔.มีขาเรียว ๕.มีผมดกดำ ๖.มีฟันเป็นระเบียบ ๗.มีสะดือบุ๋ม และ ๘.มีความประพฤติดีงาม ความงามตามโลกนิตดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นความงามโดยกำเนิด มีเพียงประการสุดท้ายที่เป็นความงามอันเกิดจากการบ่มเพาะอุปนิสัย สำหรับการแต่งกายนั้น มิได้กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของความงาม อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงพม่าก็มีค่านิยมในเรื่องของความงามที่ดูจะสอดคล้องกับโลกนิต ผู้หญิงพม่าที่ดูงามนั้น จะต้องมีผิวพรรณสดใส ดวงตาคม เอวคอด สะโพกผาย ผมดำดุจปีกแมงพลับ ฟันเป็นระเบียบ และมีอุปนิสัยการแต่งตัวที่ดูสะอาดตา พร้อมกับรู้จักวางท่าทางให้อ่อนโยน และอาจเสริมแต่งเรือนกาย อาทิ ทาแป้งตะนาคาให้ดูนวล สระผมด้วยส้มป่อย เขียนคิ้วและขอบตา ทาปากเข้ม นุ่งผ้ารัดรูป และสวมเสื้อเอวลอย เป็นต้น
ในด้านการแต่งกายนั้น ผู้หญิงพม่าจะนุ่งผ้าซิ่น  สวมเสื้อเอวลอย  มุ่นมวยผม  แซมดอกไม้ และทาแป้งตะนาคา  ในโอกาสสำคัญอย่างงานบุญหรืองานพิธี อาจประดับกายด้วยอัญมณีตามแต่ฐานะ และต้องมีผ้าบางคล้องไหล่  โดยทั่วไป ผู้หญิงพม่าจัดได้ว่าเป็นผู้ที่รักสวยรักงาม ชอบแต่งหน้าทาปาก ทาเล็บมือเล็บเท้า รายได้ที่หามาได้เป็นพิเศษมักหมดไปกับการซื้อเสื้อผ้าอาภรณ์ ดังมีคำกล่าวว่า "จะจนยากสักเพียงไร ก็ต้องแต่งกายให้ดูงาม"
ผู้หญิงพม่าส่วนมากจึงมักพิถีพิถันกับเรื่องการแต่งกายเป็นพิเศษ เริ่มตั้งแต่การดูแลเรือนผม การทัดดอกไม้ การแต่งหน้าทาเล็บ การประดับด้วยอัญมณี กำไลมือ กำไลเท้า สร้อยคอ และตุ้มหู การสวมเสื้อ ซิ่น และผ้าคลุมไหล่ การติดกระดุม ตลอดจนการสวมรองเท้า นอกจากนี้ยังมีกระเป๋าถือ บุหรี่ขี้โย และร่ม ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับสำหรับผู้หญิงพม่า 

วัฒนธรรมกายแต่งกายประเทศเกาหลีใต้

              สำหรับวัฒนธรรมการแต่งกายของประเทศเกาหลีใต้นั้นนะคะก็จะมีความงามและความอ่อนช้อยแตกต่างกันไปจากประเทศอื่นๆ นอกจากนี้วัฒนธรรมของเกาหลีมักถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบก จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุดฮันบกจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลีใต้ค่ะ
               เครื่องแต่งกายทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย จะมีลักษณะหลวมเพื่อความสะดวกสบาย ในการเคลื่อนไหว และเสื้อผ้าจะใช้ผ้าผูกแทนกระดุมหรือตะขอ โดยส่วนประกอบของชุดฮันบก  มีดังนี้
               หญิง สวมกระโปรงทรงหลวมยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อคลุมผ่าอกตัวสั้น ๆ อยู่เหนือเอว แขนยาวถึงข้อมือ ฮันบกไม่มีปก ตัวเสื้อไขว้กัน มีโบว์ผูกที่อกด้านขวา เรียกว่า “จอโกลี” หน้าหนาว จะสวมทูรูมาคี ถุงเท้าเรียกว่า ฟอซ็อน สวมรองเท้ายาวสีขาว มีปลายงอนเล็กน้อย เรียกว่า โกมูซิน มีผ้าผูกที่หน้าอกในแทนเสื้อยกทรง เรียกว่า ซ๊อกซีมา กระโปรงกับเสื้อคลุมจะสีเดียวกันก็มี คนละ สีก็มี กระโปรงเรียกว่า ซีมา ทำด้วยผ้าฝ้ายไหมอย่างดี ผ้าไหมของเกาหลีเนื้อหนา มีน้ำหนักมาก มีจีบรอบขึ้น มาเหนืออกมีผ้าขลิบตามคอ สีจะติดกับแขน ทรงกระโปรงจะเรียกว่า ทรง Empire

               ชาย สวมกางเกงขายาวสีขาวหลวม ๆ เรียกว่า บาจี รวบปลายขาด้วยแถบผ้าเรียกว่า “แทนิน” สวมถุงเท้า เรียกว่า “ยังมัล” สวมเสื้อแขนสั้น รัดรูปแขนสั้น ไว้ข้างในเรียกว่า “บันโซเม” สวมเสื้อหลวม ๆ หรือแต่งแบบชาวตะวันตก เสื้อประจำชาติเป็นเสื้อตัวยาว แขนยาวไม่มีปกไม่มี กระเป๋า เรียกว่า “จอโกรี” แต่บางทีสวมเสื้อกัก ไม่มีแขน มีกระเป๋าเรียกว่า “โจ๊ะกี” ผู้ชายนิยมสวม หมวกสีดำ ไม่มีปีกเหมือนผ้าโปร่ง รัดรอบศีรษะ เรียกว่า “ท้งก็อน” แล้วสวมหมวกทรงสูงมีปีก เรียกว่า “คัช”


วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสาธารณรัฐจีน

  " เสื้อผ้า ” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือ...