วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศคาซัคสถาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจําชาติคาซัคสถาน

          สำหรับคุณค่าทางวัฒนธรรมของประเทศคาซัคสถานนั้นนะคะ ยังเป็นวิถีชีวิตเครื่องแต่งกายที่คาซัคสถานหญิงและชายมีความแตกต่างไม่ซ้ำกันที่ไม่ได้เป็นลักษณะของเสื้อผ้าคนอื่น ๆ สำหรับ ผู้หญิงที่แต่งหน้าและใส่กางเกงยีนส์ที่รัดรูป พวกเธออาจจะยังไม่เข้าใจถึงความหมายและแก่นแท้ของการแต่งกายตามหลักการอิสลามก็ได้

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศคาซัคสถาน
       
          ถึงครั้งแรกของเครื่องแต่งกายที่คาซัคสถานย้อนหลังตอนท้ายของศตวรรษที่สิบห้าเมื่อเกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงคุณค่าทางวัฒนธรรมของประเทศ แต่ยังเป็นวิถีชีวิตเครื่องแต่งกายที่คาซัคสถานหญิงและชายมีความแตกต่างไม่ซ้ำกันที่ไม่ได้เป็นลักษณะของเสื้อผ้าคนอื่น ๆ
การแต่งกายตามหลักการอิสลามมิใช่แค่การปิดศีรษะและการใส่เสื้อแขนยาวหรือ เสี้อผ้าที่ยาวลงมาถึงตาตุ่มแต่มันมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ในความเป็นอัต ลักษณ์ของอิสลามสำหรับมุสลิมะฮ์
          อัลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ใน “ซูเราะฮ์อัน นูร” ถึงกฏเกณฑ์ที่มีความสำคัญในการแต่งกายตามหลักการอิสลาม การกล่าวอย่างกว้างๆที่อยู่ในอัล กุรอานได้รับการอธิบายอย่างละเอียดในซุนนะฮ์ของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม มีดังต่อไปนี้
- เสื้อผ้าต้องหลวมๆและไม่รัดตรงทรวดทรงของร่างกาย
- อย่าสวมเสื้อผ้าโปร่งหรือมองทะลุเข้าไปได้
- อย่าสวมเสื้อผ้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความไม่ศรัทธา
- อย่าใส่น้ำหอมที่ส่งกลิ่นเย้ายวน
- อย่าสวมเสื้อผ้าที่แสดงถึงความโอ้อวด
- อย่าสวมเสื้อผ้าที่เป็นจุดสนใจให้กับผู้ชาย
หาก เธอทราบถึงข้อบังคับเหล่านี้แล้ว เธอสามารถตัดสินได้เลยว่าการแต่งกายตามหลักการอิสลามก็จะออกมาในรูปเดียวกัน นี้และสามารถกำหนดถึงความหมายที่แท้จริงของฮิญาบ


วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศอินเดีย



วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศอินเดีย
               สำหรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชาวอินเดียนะคะจะผูกพันกับศาสนาอื่น ไม่ว่าจะเป็นฮินดูหรือพุทธ วัฒนธรรมการแต่งกายของอินเดีย เนื่องจากประเทศอินเดียมีภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง อากาศ ร้อน จะมีผ้าสำหรับนุ่งและห่มใช้เป็นเครื่องปกปิดร่างกายเท่านั้น และเนื่องจากมีชาวอาหรับเข้ามา รุกรานจึงรับวัฒนธรรมอาหรับด้วย คะ
การทอผ้ามัดหมี่และผ้ายกของอินเดีย 
               ผ้าอินเดียแบบดั้งเดิม พิมพ์โดยใช้สีสด ซึ่งมีความเชื่อว่า สิ่งทอสีสดและหลากหลายสีเป็น เอกลักษณ์เดิมของชาวอินเดีย และนิยมผ้าทอจากกี่ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ ใน ชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษล้วนแต่ทอด้วยมือโดยใช้กี่ การทอผ้าด้วยมือของอินเดียจะมี ลักษณะแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ซึ่งจะใช้ผ้าคลุมไหล่ของท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงความแตกต่างของ เอกลักษณ์ในสังคมของตน ในวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ จะมีวิธีการแต่งตัวและสีสันของเสื้อผ้า แตกต่างกัน โดยเฉพาะความยาวและวิธีการแต่งสาหรี่ ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของผู้หญิงอินเดีย
การแต่งกาย                 ชาวอินเดียโบราณ จะแต่งตัวคล้ายของไทยสมัยเชียงแสน ต่อมาสตรีนิยมสวมเสื้อแขนยาว แบบชาวจีน แต่ตัวสั้น เห็นหน้าท้อง นุ่งกางเกงขาลีบช้างใน ใช้ผ้าบาง ๆ เช่น ฝ้ายลินิน มัสลิน อย่างดีห่มอีกชิ้น ถ้าเป็นชาวพื้น เมืองจะนุ่งสาหรี่ หรือกระโปรงจีบดอกสีแดง หรือนุ่งกางเกงขาว ขายาว ส่วนชายนุ่งผ้าขาวใส่เสื้อแขนยาว ไว้หนวดเครา โพกผ้า

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศเกาหลีเหนือ

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศเกาหลีเหนือ
         สำหรับวัฒนธรรมการแต่งกายของประเทศเกาหลีเหนือนั้นนะคะก็จะมีความงามและความอ่อนช้อยแตกต่างกันไปจากประเทศอื่นๆ นอกจากนี้วัฒนธรรมของเกาหลีมักถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบก จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุดฮันบกจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลีเหนือค่ะ
      เกาหลีเหนือ มีเปียงยางเป็นเมืองหลวง เป็นสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีปกครอง ระบบสังคมนิยม
การแต่งกายชาวเกาหลีมีชุดแต่งกายประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่าฮันบก มี ลักษณะหลวม ๆ ไม่ใช้กระดุม แต่ใช้ผ้าเย็บเป็นเส้นใช้ผูกแทน

หญิง สวมกระโปรงทรงหลวมยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อคลุมผ่าอกตัวสั้น ๆ อยู่เหนือเอว แขนยาวถึงข้อมือ ฮันบกไม่มีปก ตัวเสื้อไขว้กัน มีโบว์ผูกที่อกด้านขวา เรียกว่า “จอโกลี” หน้าหนาว จะสวมทูรูมาคี ถุงเท้าเรียกว่า ฟอซ็อน สวมรองเท้ายาวสีขาว มีปลายงอนเล็กน้อย เรียกว่า โกมูซิน มีผ้าผูกที่หน้าอกในแทนเสื้อยกทรง เรียกว่า ซ๊อกซีมา กระโปรงกับเสื้อคลุมจะสีเดียวกันก็มี คนละ สีก็มี กระโปรงเรียกว่า ซีมา ทำด้วยผ้าฝ้ายไหมอย่างดี ผ้าไหมของเกาหลีเนื้อหนา มีน้ำหนักมาก มีจีบรอบขึ้น มาเหนืออกมีผ้าขลิบตามคอ สีจะติดกับแขน ทรงกระโปรงจะเรียกว่า ทรง Empire

ชาย สวมกางเกงขายาวสีขาวหลวม ๆ เรียกว่า บาจี รวบปลายขาด้วยแถบผ้าเรียกว่า “แทนิน” สวมถุงเท้า เรียกว่า “ยังมัล” สวมเสื้อแขนสั้น รัดรูปแขนสั้น ไว้ข้างในเรียกว่า “บันโซเม” สวมเสื้อหลวม ๆ หรือแต่งแบบชาวตะวันตก เสื้อประจำชาติเป็นเสื้อตัวยาว แขนยาวไม่มีปกไม่มี กระเป๋า เรียกว่า “จอโกรี” แต่บางทีสวมเสื้อกัก ไม่มีแขน มีกระเป๋าเรียกว่า “โจ๊ะกี” ผู้ชายนิยมสวม หมวกสีดำ ไม่มีปีกเหมือนผ้าโปร่ง รัดรอบศีรษะ เรียกว่า “ท้งก็อน” แล้วสวมหมวกทรงสูงมีปีก เรียกว่า “คัช”

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศซาอุดิอาระเบีย
      
               วัตถุประสงค์ที่สำคัญ ของการแต่งกายของประเทศซาอุดิอาระเบียนั้นนะคะ คือ การปกปิดสิ่งพึงสิ่งที่ต้องหวงของร่างกาย โดยเฉพาะร่างกายของผู้หญิง  เพื่อที่จะไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของเรือนร่างเพศหญิง กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ของผู้ชาย ซึ่งจะก่อให้เกิด ความเสียหาย ขึ้นมาในสังคมได้ค่ะ 
ประเทศเขาจึงได้วางหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้คะ


1.เสื้อผ้าจะต้องสะอาด ประณีต เรียบร้อย ดูสวยงาม เหมาะสมกับบุคลิกภาพ การดำรงตน  สมถะ หรือการเคร่งครัดในศาสนา ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ดูซอมซ่อ เพื่อให้คนอื่นดูว่าตัวเอง ไม่ใส่ใจใยดีต่อโลก อย่าแต่งกาย ให้คนอื่นดูถูก หรือมองเห็นเรา เป็นตัวตลก
2.อิสลาม ไม่ห้ามการแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้าที่ดีมีราคา ถ้าหากว่าฐานะทางเศรษฐกิจ เอื้ออำนวย และต้องการแสดงออก ให้เห็นว่าตน ได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า แต่ในขณะเดียวกัน อิสลามก็ห้ามการแต่งกาย โดยมีเจตนา ที่จะโอ้อวด ถึงความมั่งคั่ง และความทนงตน ว่าเหนือกว่าคนอื่น
3.เสื้อผ้าต้องปกปิด สิ่งพึงละอายของผู้สวมใส่ สำหรับผู้หญิงนั้นสิ่งที่พึงปกปิด ก็คือทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นใบหน้า และฝ่ามือ ส่วนเอาเราะฮ์ ของผู้ชายนั้นคือบริเวณตั้งแต่สะดือถึงหัวเข่า
4. ผู้หญิงมุสลิม จะต้องไม่แต่งกาย ด้วยเสื้อผ้าที่รัดรูป แนบเนื้อ หรือเสื้อผ้าที่โปร่งบาง หรือมีรูที่ทำให้มองเห็นผิวหนัง หรือเรือนร่างภายใน
5. ผู้ชาย จะต้องไม่ใส่เสื้อผ้า หรือแต่งกายเลียนแบบผู้หญิง และผู้หญิงจะต้องไม่ใส่เสื้อผ้า หรือแต่งกายเลียนแบบผู้ชาย ทั้งนี้เพื่อดำรงรักษาบุคลิกและเอกลักษณ์แห่งเพศของตัวเองไว้ ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้สาปแช่งคน ที่แต่งกายเลียนแบบ ของเพศตรงข้าม
6. อิสลามห้ามมุสลิมชาย สวมใส่เสื้อผ้า ที่ตัดมาจากผ้าไหม และสวมใส่เครื่องประดับทองคำ ทั้งนี้เพราะว่า สิ่งเหล่านี้เหมาะสม ที่จะเป็นอาภรณ์ และเครื่องประดับของผู้หญิง
7.  อิสลามห้ามหญิงมุสลิม ใส่น้ำหอมออกนอกบ้าน เพราะไม่ต้องการให้กลิ่นน้ำหอม ไปกระตุ้นความรู้สึกของเพศตรงข้าม แต่ขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนให้ผู้หญิง โดยเฉพาะภรรยาใส่น้ำหอม และแต่งกายให้สะอาดสวยงามเมื่ออยู่กับสามี หวีผมให้เรียบร้อย และอย่าปล่อยให้ผมกระเซิง
9.  ก่อนจะสวมใส่เสื้อผ้า และรองเท้า ให้สะบัดหรือเคาะเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้แมลง หรือสัตว์อันตราย ที่อาจอาศัยหรือติดอยู่ในเสื้อผ้า และรองเท้าหลุดไป และเมื่อสวมใส่เสื้อผ้าหรือรองเท้า ให้เริ่มใส่ทางข้างขวาก่อน
10.   หลีกเลี่ยงการแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้าสีฉูดฉาด หรือแต่งกาย เลียนแบบนักบวชหรือนักพรต
11.      ให้เสื้อผ้าแก่คนยากจนบ้าง เพื่อเป็นการขอบคุณต่ออัลลอฮ ที่ทรงโปรดปราน ให้เราได้มีเสื้อผ้าสวมใส่ ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวว่า ใครที่ให้เสื้อผ้าแก่มุสลิม สวมใส่ร่างกายของเขา อัลลอฮ จะให้เขาได้สวมใส่เสื้อผ้าสีเขียว แห่งสวรรค์ ในวันแห่งการพิพากษา
12.      ให้เสื้อผ้าที่ดี ตามสถานภาพของท่านเอง แก่คนรับใช้ หรือบ่าวที่ทำหน้าที่รับใช้ท่านมาตลอด ทั้งวัน



วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศอิหร่าน

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศอิหร่าน
            สำหรับการแต่งกายของสตรีมุสลิมในประเทศมุสลิมที่ใช้การปกครองตามหลักการอิสลามจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสังคม รสนิยม วัฒนธรรม และประเพณี ตลอดจนนโยบายของแต่ละประเทศ ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เช่นประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกกลางนิยมสวมเครื่องแต่งกายสีดำและสีโทนเข้ม ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฯลฯ นิยมสวมเครื่องแต่งกายสีฉูดฉาดและหลายหลากสี
การแต่งกายของสตรีชาวอิหร่าน

                รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนให้สตรีชาวอิหร่านสวมใส่ฮิญาบ (Hejab) ที่เป็นชุดประจำชาติที่เรียกว่าชาโดร (Chador) ซึ่งเป็นผ้าคลุมครึ่งวงกลมสีดำยาวไม่มีแขน และสไตล์ใหม่เป็นแบบมีแขนคล้ายชุดคลุมยาวทั่วไป โดยจะสวมใส่ทับบนเครื่องแต่งกายอีกชั้น แต่ไม่เป็นการบังคับใครจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้

                โดยทั่วไปสตรีชาวอิหร่านจะแต่งกายด้วยชุดที่เรียบร้อย สีไม่ฉูดฉาด โดยเฉพาะในสถานที่ราชการ ผู้หญิงจะต้องสวม "มอนโต" หรือเสื้อคลุมยาวเลยเข่าเล็กน้อยหรือเสื้อคลุมยาวถึงตาตุ่มแขนเสื้อยาว และสวม "มักนาเอ่ะ" ซึ่งมีลักษณะคล้ายผ้าพันคอที่เย็บติดด้านหน้าซึ่งคลุมตั้งแต่ศรีษะถึงหัวไหล่ โดยทั้งสองชุดนี้ต้องมีสีเข้มไม่ฉูดฉาด

                อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สตรีชาวอิหร่านเริ่มหันมาให้ความสนใจกับแฟชั่นเสื้อคลุมที่จะสวมใส่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีที่มีฐานะและผู้ที่มีฐานะทางสังคมในกรุงเตหะราน โดยสตรีอิหร่านจะสวมเสื้อคลุม "มอนโท" ที่มีสีสันหลากหลายมากขึ้น และมีแบบหรือสไตล์ต่างๆ ที่สวยงาม ทั้งนี้จะใช้ผ้าพันหรือผ้าโผกศรีษะที่มีสีสัน เพื่อให้เข้ากับชุดที่ใส่

                นอกจากนี้ สตรีที่มีฐานะและกลุ่มวัยรุ่นสตรีในกรุงเตหะรานมักนิยมแต่งหน้าให้สวยงาม เช่น ทาลิปสติก  ทาเล็บ ย้อมผมและใช้เครื่องสำอาง ในสถานที่สาธารณชน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมอิหร่านเท่าไรนัก นอกจากนี้ แบบหรือสไตล์การแต่งกายของกลุ่มวัยรุ่นสตรีอิหร่านและ กลุ่มนักศึกษาจะเริ่มเน้นความนำสมัยเป็นหลัก โดยจะโผกผ้าพันศรีษะที่เผยให้เห็นผมบ้างบางส่วน   และใส่เสื้อคลุมแขนยาวสามส่วน นอกจากนี้สตรีอิหร่านส่วนมากร้อยละ 96 นิยมนุ่งกางเกงยีนส์ที่ทันสมัย สวมกับเสื้อคลุมยาวไม่ว่าจะเป็นแบบที่ยาวถึงหัวเข่า หรือเสื้อคลุมแบบยาวถึงตาตุ่ม มีสตรีอิหร่านน้อยมากที่นุ่งกระโปรงกับเสื้อคลุม ซึ่งต่างจากสตรีชาวตุรกี มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ  นอกจากนี้ สตรีชาวอิหร่านนิยมสวมรองเท้าที่มีรูปแบบทันสมัยอีกด้วย
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุดประจำชาติอิหร่าน




วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศปากีสถาน

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศปากีสถาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศปากีสถาน
ปากีสถาน             สำหรับการแต่งกายของชาวปากีสถานนั้น จะคล้ายคลึงกับประเทศอินเดีย  ปากีสถาน มีชื่อเต็มคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ปากีสถานมีความเจริญมาแต่ยุค โบราณ ทางด้านการค้า ศิลปวัฒนธรรม เมืองหลวงเก่าคือ การาจี แล้วเปลี่ยนมาสร้างเมืองหลวง ใหม่ในภาคเหนือคือ อิสลามาบัด ได้ชื่อว่าเป็นประเทศมุสลิม มีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลาม หนาแน่นที่สุดเหมือนอินเดีย มีสินค้าที่มีชื่อ คือ ผ้ามัสลิน 

สิ่งทอปากีสถาน 
สิ่งทอของปากีสถาน จะมีความหลากหลายในแต่ละท้องที่ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
  • การผสมผสานของรูปแบบสิ่งทอเฉพาะของจังหวัดและแพร่ออกไปสู่ตามบริเวณชายแดน
  • การย้ายถิ่นฐาน
  • การย้ายของผู้คนจากประเทศต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของชาวกรีก พวกมุสลิมในตุรกี
  • การมีความสัมพันธ์กับต่างชาติ เช่น จีน และเอเซียกลาง
การแต่งกาย 
การแต่งกายจะประดับด้วยดอกไม้ แก้วแหวนเงินทอง นุ่งกระโปรงจีบสีดำ ห่มผ้าสีดำ ปักลวดลายด้วยไหมสีต่าง ๆ ใส่ตุ้มหู กำไล สร้อยคอ ชายจะแต่งกายคล้ายชาวอินเดีย ใช้ผ้า มัสลินตัดเสื้อตัวหลวม โพกศีรษะ

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศจีน

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศจีน
    

                      สำหรับการแต่งกายของประเทศจีนนั้นก็จะมีหลายยุคสมัย ได้แก่ สมัยฉิน สมันฮั่น สมัยเว่ยจิ้น สมัยสุ่ย สมัยถัง สมัยซ่ง สมัยเหวี่ยน สมัยหมิง สมัยชิง สมัยปฏิวัติซินไฮ่ และปัจจุบันแม้วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนจะไม่สามารถคงความเป็นรูปแบบเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายประจำชาติได้อย่างประเทศในแถบอินเดีย เนื่องจากได้รับเอาค่านิยมแบบเสื้อผ้าจากชาวตะวันตกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ยังคงได้พบเห็นแบบแฟชั่นที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน เช่น ปกเสื้อคอจีน กี่เพ่า เป็นต้น ซึ่งยังเป็นที่นิยม คงความสวยงามและเป็นแบบเสื้อที่ไม่มีวันตาย
                 ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน  รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสาธารณรัฐจีน

  " เสื้อผ้า ” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือ...