วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศบรูไน

การแต่งกายประเทศบรูไน

 "เสื้อผ้า” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้น เสื้อผ้ายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา กระบวนการต่างๆ และถูกหลอมรวมจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศ 

  ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู  
              ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส
              โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกาย
  
 ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว
              ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกง  ขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคม 
 แบบอนุรักษ์นิยม
              เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย



วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศฟิลิปปินส์

 “เครื่องแต่งกาย” หมายถึง สิ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกาย โดยที่มนุษย์มีความ จำเป็นต้องแต่งกายด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ 

1. ใช้ปกปิดร่างกาย 
2. ให้ความอบอุ่น 
3. เพื่อป้องกันสัตว์ และแมลง 
การแต่งกาย ของชาวฟิลิปปินส์ในยุคนั้น นิยมใช้เครื่องประดับกาย ชาวเกาะ วิสายัน ชอบสักตามใบหน้า ร่างกาย และแขนขา ชายหญิงสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำและเพชร พลอย ชาวพื้น เมืองนิยมใส่ปลอกแขน กำไล และสร้อยคอ ก่อนสเปนเข้าครอบครอง สังคมแบ่ง ออกเป็น 3 ชนชิ้น คือ ขุนนาง เสรีชน และทาส 

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 สเปนก็พบฟิลิปปินส์เป็นชาติแรก ต่อมาเกาะทุกเกาะก็ตกอยู่ ในการปกครองของสเปน และได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการ แต่งกาย และการดำเนินชีวิต ส่วนการแต่งกายก็ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ และสักตามร่างกายดังกล่าวแล้ว 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชตามสนธิสัญญา เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป เอเชีย และตะวันตก 

เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล 

การทอผ้าใยสับปะรดทองฟิลิปปินส์ ทอกันมากกว่า 400 ปี หรือมากกว่า การทอใย สับปะรดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนใช้เวลามาก ใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวดีมาก โดยเฉพาะ เส้นใยของสับปะรดที่ได้จากเมืองอะคลัน
การแต่งกายของชาวฟิลิปปินส์ 

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศเวียดนาม



  สำหรับ"เสื้อผ้า” น่ะค่ะ ก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้นนะคะ เสื้อผ้ายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา กระบวนการต่างๆ และถูกหลอมรวมจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศ ให้เราได้ศึกษาและเรียนรู้กันค่ะ

 การแต่งกาย


   "ผู้หญิง" นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า"ผม" ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ



    "ชาย" แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว  

        ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า"พวกม้อย" จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอจากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอกคอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่างเช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย

วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสิงคโปร์

        วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสิงคโปร์
         สำหรับ"เสื้อผ้า” น่ะค่ะ ก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้นนะคะ เสื้อผ้ายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา กระบวนการต่างๆ และถูกหลอมรวมจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศ ให้เราได้ศึกษาและเรียนรู้กันค่ะ 
การแต่งกาย 

   "ผู้หญิง" นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า"ผม"ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ 


    "ชาย" แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว  
        ในเวียดนามใต้มีชาว…
       
           การแต่งกายของชาวมลายูในสิงคโปร์ เสื้อใช้ลวดลายและดอกคล้ายโสร่งของอินโดนีเซีย แบบอาจจะเพี้ยนไปบ้าง ใช้ผ้าพื้น เข้มทำตัวเสื้อ มีลวดลายตามรอบคอ สาบ และปลายแขน ส่วน ชายแต่งชุดสากล สำหรับชาวจีน อินเดีย ยุโรป ก็แต่งตามการแต่งกายของแต่ละชาติ เอกลักษณ์ของ ชาวสิงคโปร์ไม่มีศิลปะเป็นของตนเอง แต่สิ่งที่ประทับใจที่สำคัญคือ ความเรียบร้อย มีระเบียบ และสะอาดที่สุดในโลกในสายตาของชาวโลก

          สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัว เสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้
การแต่งกายของชาวสิงคโปร์
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศลาว


      ในปัจจุบันถึงแม้จะมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีจนทำให้วัยรุ่นสาวของประเทศลาวนุ่งกางเกงหรือใส่สายเดี่ยวนั้น แต่เวลามีงานบุญต่างๆก็จะได้เห็นภาพที่น่าประทับใจ คือแม่ยิงลาวจะพร้อมใจกัน “นุ่งซิ่น เบี่ยงแพ”
     มีคำกล่าวว่าแม่ยิงลาวเกี่ยวข้องและผูกพันกับการ“นุ่งซิ่น” และ “ต่ำหูก” อย่างแยกกันไม่ออก การต่ำหูก เป็นคุณสมบัติประจำตัวของแม่ยิงลาว แม่ยิงเป็นผู้รักษาวัฒนธรรมของชาติไว้ ในตำนานการต่ำหูกของลาวได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแม่ยิงที่สามารถต่ำหูกได้ ว่าเป็นคนที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของสังคม ในคำผะหยาเกี้ยวสาว หรือคำสุภาษิตของลาว ก็มีคำยกย่อง ชื่นชมแม่ยิงที่ต่ำหูกเป็น และเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มต่ำหูก หมายถึง การทำผ้าซิ่นประเภทหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละครอบครัวในประเทศลาว
แม่ยิง หมายถึง คนที่สามารถต่ำหูกเป็น
  ผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว ทุกวันนี้พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของ คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรก ด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกัน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้า เตี่ยวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น อาจะใช้เทคนิคการทอแบบ “หมากไม” คือการปั่นเส้นใย สวมเสื้อ แบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ 

การแต่งกาย 
             ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน  สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสาธารณรัฐจีน

  " เสื้อผ้า ” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือ...