วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสาธารณรัฐจีน



  "เสื้อผ้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้น เสื้อผ้ายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา กระบวนการต่างๆ และถูกหลอมรวมจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศ
        ประวัติความเป็นมาของจีนนั้น มีการปกครอง และการเปลี่ยนแปลงหลายราชวงค์ตั้งแต่ 
ราชวงค์ซ้ง (Shang) ราชวงค์โจ (Chou) ราชวงค์ฉิน (Chin) ราชวงค์ฮั่น ราชวงค์ซ้อง หรือ ซุ่ง (Sung) ราชวงค์เหม็ง จนกระทั่งชาวแมนจูได้เข้ามาปกครองจีน และมีอำนาจจนเปลี่ยนการปกครอง เป็นสาธารณรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2455

             เนื่องจากภูมิประเทศของจีนเป็นประเทศที่อยู่ในเขตอากาศหนาวจัด จึงมีความจำเป็นต้อง ปกปิดร่างกายด้วยเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และมิดชิด แขนเสื้อกว้างใหญ่และยาวเพื่อเก็บมือไว้ได้ สมัยก่อนยังไม่รู้จักใช้ถุงมือ ตัวเสื้อจะยาวคร่อมเท้า แบบเสื้อจะเป็นเสื้อป้ายซ้อนกันที่หน้าอก เพื่อให้เกิดความอบอุ่น และสวมกางเกงขายาวไว้ข้างใน

            สาธารณรัฐประชาชนจีน ชายจะสวมเสื้อคอปิด แขนยาว สีน้ำเงินหรือดำเรียกว่าจงหาน หรือชุดเหมา หญิงสวมชุดติดกันเข้ารูป เสื้อคอปิดหรือป้ายอก เรียกว่า ฉ่งชำ
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_18.html

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศภูฎาน

ชุดประจำชาติภูฏาน   ชุดประจำชาติภูฏาน

                 สำหรับประเทศภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี โดยรัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวันคะ
                 ซึ่งพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ดังเช่นภาพที่คนไทยทั้งประเทศได้เห็นและประทับใจในองค์มกุฎราชกุมารของภูฏาน เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก ที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดประจำชาติเกือบตลอดเวลาระหว่างที่เสด็จมาร่วมงานในพิธีฉลองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 60เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2006 
             ชุดประจำชาติภูฏานของฝ่ายชายเรียกว่า โก (Kho หรือ Go) ส่วนชุดของฝ่ายหญิงเรียกว่า คีร่า (Kira) นอกจากนี้ชุดประจำชาติของชาวภูฏาน (ผู้ชาย) ที่สวมใส่ไปในงานพระราชพิธีหรือในงานพิธีที่เป็นทางการยังประกอบด้วย ผ้าพาดไหล่ (Scarf) ที่ภาษาภูฏานเรียกว่า แกบเน (Kabney) ซึ่งมีอยู่หลายสี แต่ละสีบอกชั้นยศและฐานันดรศักดิ์ของผู้ใช้ผ้าพาดไหล่นั้น ด้วย เช่น สีเหลืองอมส้ม (Saffron) เป็นสีที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์กับสมาชิกในพระราชวงศ์และพระสังฆราช(เจเคนโป) สีส้มสำหรับรัฐมนตรี สีน้ำเงินสำหรับองคมนตรี สีแดงสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ที่พระราชาธิบดีทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สีขาวลายเส้นสีน้ำเงิน สำหรับสมาชิกรัฐสภา สีขาวลายเส้นสีแดงสำหรับหัวหน้าหมู่บ้านและข้าราชการทั่วไป ทหารนั้นใช้ผ้าผืนเล็กสีขาวขลิบริมสีแดง และสีขาวสำหรับประชาชนธรรมดา
ที่มา:  http://www.tripdeedee.com/traveldata/bhutan/bhutan09.php

วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศบาห์เรน


1 เอาเราะฮฺ หรือขอบเขตของร่างกายที่ต้องปกปิด

เกณฑ์แรกคือขอบเขตของร่างกายที่ต้องปกปิด (เอาเราะฮฺ) ซึ่งต่างกันระหว่างชายกับ หญิง เอาเราะฮฺของผู้ชายอย่างน้อยต้องอยู่ระหว่างสะดือกับเข่า สำหรับผู้หญิงเอาเราะฮฺคือทุกส่วนของร่างกายยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ หรือหากเป็นความประสงค์ของพวกเธอก็สามารถปกปิดส่วนของร่างกายส่วนนี้ (ใบหน้าและมือ) ด้วยก็ได้ นักวิชาการอิสลามบางท่านยืนยันหนักแน่นว่าใบหน้าและมือก็เป็นส่วนของร่างกายที่ต้องปกปิดด้วยเช่นกัน 


อีก 5 เกณฑ์ที่เหลือนั้นเหมือนกันทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง


2 ชุดที่สวมใส่ต้องหลวมและต้องไม่เปิดเผยให้เห็นรูปร่าง
3 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่บางจนมองทะลุผ่านได้
4 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่งามหรือมีเสน่ห์จนเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม
5 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่คล้ายคลึงกับของเพศตรงข้าม
6 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่คล้ายคลึงกับของบรรดาผู้ปฏิเสธ พวกเขาจะต้องไม่สวมใส่ชุดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหรือสัญลักษณ์ในศาสนาของบรรดาผู้ปฏิเสธ
โดยหลักธรรมชาติ ทันทีที่บทบัญญัติของอิสลามถูกนำมาปฏิบัติผลลัพธ์ในทางที่ดีย่อมบังเกิดอย่างแน่นอน หากบทบัญญัติของอิสลามได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติในทุกส่วนของโลกไม่ว่าในอเมริกาหรือยุโรป สังคมก็จะหายใจอย่างโล่งอก ฮิญาบไม่ได้ลดฐานะของผู้หญิงหรือทำให้ผู้หญิงอยู่ในสภาพที่น่าอับอายแต่ฮิญาบช่วยเชิดชูผู้หญิงช่วยปกป้องความสงบเสงี่ยมสง่างามและพรหมจรรย์ของเธอ




ที่มา:  https://baabin.com/215047/


วัฒนธรรมการแต่งกายประเทศสาธารณรัฐจีน

  " เสื้อผ้า ” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน แต่เสื้อผ้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่ง ที่นำมาปกปิดร่างกายหรือ...